วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยว



เมือง อัลบี





           ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านวัฒนธรรม หรือ ธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ "ยอดเขามงบล็อง" (Mont Blanc) ในเทือกเขาแอลป์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตกไว้ คือ มีความสูงประมาณ 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) นั่นเอง 


                 "เมืองอัลบี" (Albi) อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของฝรั่งเศส เป็นเมืองหนึ่งในเขตจังหวัดตาร์น (Tarn) ของแคว้นมีดี-ปีเรเน (Midi-Pyrenees) โดยตัวเมืองอัลบีนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาร์น (Tarn River) อีกหนึ่งแม่น้ำมีความสำคัญทางด้านการค้าและการคมนาคมมาตั้งแต่สมัยโบราณ 


                 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า เมืองอัลบีนั้นเคยมีการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงยุคสำริด (3000-600 BC ) อีกทั้งยังเคยเป็นเมืองเก่าที่สร้างขึ้นในยุคโรมันเรืองอำนาจ และต่อมาก็ได้กลายมาเมืองท่าทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส นอกจากนี้แล้ว เมืองอัลบี ยังถือว่าเป็นเมืองที่ค่อนข้างมีความโดดเด่นมากในเรื่องของสถาปัตยกรรมและรูปแบบของเมือง 







"มหาวิหารอัลบี" 


           ปัจจุบันเมืองอัลบียังคงรักษารูปแบบของเมืองยุคกลางไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหล่าอาคารบ้านเรือน วิหาร และอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นจากอิฐท้องถิ่นซึ่งมีทั้งสีแดงและส้ม อีกทั้งยังมีสะพานโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการข้ามแม่น้ำตาร์น ซึ่งมีความยาวประมาณ 151 เมตร ต่อมาในปี ค.ศ. 2010 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เพิ่มเมืองอัลบีเข้าไปอยู่ในรายชื่อของแหล่งมรดกโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

             สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองอัลบีนั้น แน่นอนว่าสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆที่นักท่องเที่ยวจะต้องไม่พลาดไปเยือนนั้นมีมากมายหลายแห่ง โดยแห่งแรกที่อบากแนะนำให้คุณไปเยือน คือ "มหาวิหารอัลบี" (Albi Cathedral) หรือ มหาวิหารเซนต์เซซิเลีย (cathedrale Sainte-Cecile) มหาวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกของอัครสังฆราชแห่งอัลบี อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นไฮไลท์หลักของเมืองก็ว่าได้ 









                มหาวิหารอัลบี ถูกสร้างขึ้นในช่วง ระหว่างปี ค.ศ. 1282 ถึงปี ค.ศ. 1480 ในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอธิคตอนใต้ โดยเฉพาะการมีหอระฆังที่มาสร้างในปี ค.ศ. 1492 ที่สูง 78 เมตรและทางเข้าโดยโดมินีค เดอ โฟลรองซ์ที่สร้างราวปี ค.ศ. 1392 ภายในมหาวิหารได้รับการตกแต่งอย่างหรูหรา ตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังบนเพดานเป็นจิตรกรรมฝาผนังแบบเรอเนสซองซ์อิตาลีที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส 






"พระราชวังของสงฆ์แห่งเบอร์บี" 


              "พระราชวังของสงฆ์แห่งเบอร์บี" (Palais de la Berbie) อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และยังเป็นหนึ่งในปราสาทที่มีความเก่าแก่ และได้รับการบำรุงรักษาได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส โดยพระราชวังตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำตาร์น อยู่เยื้องมาจากมหาวิหารอัลบีมาทางตอนเหนือเล็กน้อย 


                ในช่วง ศตวรรษที่ 13 พระราชวังของสงฆ์แห่งเบอร์บี ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นปราสาทป้อมปราการที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันมหาวิหารอัลบี โดยตัวอาคารนั้นถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของสถาปัตยกรรมยุคกลาง ล้อมรอบไปด้วยกำแพงที่มีความสูงและหนาเป็นพิเศษ 


              โดยสิ่งที่โดดเด่นไปไม่น้อยกว่ากันก็คงจะเป็นสวนหย่อมที่ได้รับการออกแบบและตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และยังถือว่าเป็นจุดที่สามารถชมวิวเหนือแม่น้ำตาร์นที่มีความสวยงามากแห่งหนึ่ง ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้ได้ถูกยกให้เป็นอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศส และยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองอัลบี






"สะพานเก่า หรือ สะพานปองต์วิเยอซ์" 

"ย่านเมืองเก่าอัลบี" ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส ในสมัยอดีตเมืองเก่าอัลบีเคยถูกปกครองด้วยคณะสงฆ์ที่เรืองอำนาจ ภายในเขตเมืองเก่าประกอบไปด้วยเหล่าอาคารบ้านเรือน โรงแรม รวมไปถึงตลาด ซึ่งอาคารส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นจากอิฐแดง กับสีสันของระเบียงดอกไม้และโบสถ์ที่สง่างาม 


แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
พิพิธภัณฑ์ Toulouse Loutrec 





พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองที่อยู่ใกล้กับวิหารของ Sainte-Cécileและสำนักงานการท่องเที่ยว  คู่มือเครื่องเสียงพิพิธภัณฑ์ให้คำแนะนำเสียงสำหรับผู้เข้าชมซึ่งไม่มีผู้ ดูแลในการคอลเลกชัน Toulouse-Lautrec นำเสนอการคัดเลือกจาก 44 ผลงานจากผลงานในช่วงต้นของวัยหนุ่มสาวของเขาขึ้นไปบนผืนผ้าใบของจิตรกรล่าสุดที่มีอยู่ในฝรั่งเศส, อังกฤษ, เยอรมัน, สเปนและอิตาลี มาพร้อมกับหูฟังเหนี่ยวนำสำหรับผู้เข้าชมที่มีเครื่องช่วยฟัง ความยาวของการเข้าชม, 1 ถึง 1 ½ชั่วโมง ภาพยนตร์แสดงให้เห็นผู้เข้าชมสามารถค้นพบตูลูส-Lautrec ในเชิงลึกมากขึ้นกับสองเรื่องที่ฉายพร้อมกันในหอประชุม การแสดงภาพยนตร์อาจถูกเลื่อนออกไปเพื่อให้วิธีการเขียนโปรแกรมทางวัฒนธรรม ของพิพิธภัณฑ์ "อองรี Monsieur" พอล Bigou ของภาพยนตร์เรื่อง "Monsieur อองรี" ข้อเสนอที่มีชีวิตและการทำงานของอัลบีจิตรกรอองรีเดอตูลูส-Lautrec ความยาว: ประมาณ 38 นาที "Lumière sur" ... ฟิล์มจะพาคุณไปวันสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 และแสดงวิธีนี้อัจฉริยภาพด้านศิลปะยากจนฟรีจากการเคลื่อนไหวทางศิลปะของเวลา ในการพัฒนาสไตล์ของตัวเองของเขา เรื่องราวของ Palais de la Berbie ถูกสัมผัสเมื่อจากการก่อสร้างโดยพระสังฆราชของรัฐในปัจจุบันของมัน. "Lumière sur" ... โดย D.Devynck, P-R Saint-Dizier, Ch ความยาว Dedieu: ประมาณ 23 นาที ไกด์ทัวร์คอลเลกชัน, Palais de la Berbie และสวนหย่อมสำหรับทัวร์มาของพิพิธภัณฑ์และคอลเลกชันที่ค้นพบประวัติศาสตร์ ของ Palais de la Berbie และเยี่ยมชมสวน ทัวร์จะน​​ำเสนอในฝรั่งเศส, อังกฤษ, เยอรมัน, สเปน, อิตาลีและญี่ปุ่น และภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีการสอนวาดภาพให้กับเด็กและผู้ที่สนใจด้วย




ภาพเขียนสีที่แพงที่สุดในโลก

 




       
ART EYE VIEW ---ยาวนานถึง 6 เดือนเต็ม ที่ผู้แวะไปเยือน พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (The Museum of Modern Art) หรือ MOMA ประจำเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะได้ชมภาพเขียน ชิ้นที่ถูกการันตีว่าแพงที่สุดในโลก (เกือบ 120 ล้าน ดอลลาร์) ในเวทีประมูลของ Sotheby เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
      
       นั่นก็คือภาพเขียน The Scream ผลงานของศิลปินชาวนอร์เวย์ Edvard Munch รวมถึงผลงานชิ้นอื่นๆของเขาที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน
      
       Munch เขียนภาพThe Scream ซึ่งมีทั้งหมด 4 เวอร์ชั่น ขึ้นระหว่างปี คศ. 1893 -1910
      
       แต่ภาพชิ้นที่จะนำมาอวดสายตาผู้คนในนิทรรศการครั้งนี้ นอกจากจะเป็นภาพที่แพงที่สุด ยังเป็นภาพหนึ่งเดียวในชุดเดียวกัน ที่ตกอยู่ในการครอบครองของนักสะสมงานศิลปะ ส่วนภาพอื่นๆที่เหลือ เป็นสมบัติของ Norwegian museums
      
       ภาพของชายที่กำลังเอามือกุมขมับ ภายใต้บรรยากาศของท้องฟ้าสีแดงเลือด ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่ง ของมนุษย์ผู้กำลังอยู่ในอาการน่าเป็นห่วง จนต้องกรีดร้องออกมา
      
      



Starry night





กีฬามาราธอนและกีฬาโอลิปิค


ภาพห่วงห้าวง ซึ่งถูกออกแบบใน พ.ศ. 2456 เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2457 และออกแสดงครั้งแรก ในการแข่งขันที่แอนต์เวิร์ปเมื่อ พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)
  
กีฬาโอลิมปิก

กีฬาโอลิมปิก (Olympic Games,les Jeux olympiques, JO) หรือโอลิมปิกส์ (Olympics) สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญ ทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาหลายพันคนเข้าร่วมการแข่งขันหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมกว่า 200 ประเทศปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสองปี ผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาวหมายความว่า โอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวจะจัดห่างกันสี่ปี การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากีฬาโอลิมปิกโบราณ ซึ่งจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน พ.ศ. 2437 นับแต่นั้น ไอโอซีกลายเป็นองค์การดูแลกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) โดยมีกฎบัตรโอลิมปิกนิยามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ
วิวัฒนาการของกระบวนการโอลิมปิกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกีฬาโอลิมปิกหลายประการ การปรับแก้บางอย่างรวมไปถึง การริเริ่มโอลิมปิกฤดูหนาวเพื่อแข่งขันกีฬาน้ำแข็งและฤดูหนาว กีฬาพาราลิมปิกเพื่อนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกาย และกีฬาโอลิมปิกเยาวชนเพื่อนักกีฬาวัยรุ่น ไอโอซีได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 ตามความจริง ผลคือ กีฬาโอลิมปิกได้ขยับจากลักษณะมือสมัครเล่นบริสุทธิ์ (pure amateurism) ตามแนวคิดของกูแบร์แต็ง เพื่อให้นักกีฬาอาชีพร่วมการแข่งขันได้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของสื่อมวลชนได้ก่อให้เกิดปัญหาการอุปถัมภ์โดยบริษัทและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากกีฬาโอลิมปิก สงครามโลกนำไปสู่การยกเลิกโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2459, 2483 และ 2487 มีการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งจำกัดการเข้าร่วมในโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2523 และ 2527
กระบวนการโอลิมปิกประกอบด้วยสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และคณะกรรมการจัดการแข่งขันของกีฬาโอลิมปิกแต่ละครั้ง เมืองเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขันและการจัดหาเงินทุนเพื่อสมโภช (celebrate) กีฬาตามกฎบัตรโอลิมปิก โปรแกรมโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยกีฬาที่จะมีการแข่งขันในโอลิมปิก ถูกกำหนดโดยไอโอซีเช่นกัน การสมโภชกีฬาโอลิมปิกหมายรวมพิธีการและสัญลักษณ์จำนวนมาก อาทิธงและคบเพลิงโอลิมปิก ตลอดจนพิธีเปิดและปิด มีนักกีฬากว่า 13,000 คนเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวใน 33 ชนิดกีฬา เกือบ 400 รายการ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละรายการจะได้รับเหรียญโอลิมปิก ทอง เงินและทองแดง ตามลำดับ

กีฬามาราธอน

           
การแข่งขันวิ่งมาราธอนในเบอร์ลิน ค.ศ. 2007
มาราธอน (Marathon) คือการแข่งขันวิ่งระยะยาว ในระยะอย่างเป็นทางการคือ 42.195 กิโลเมตร (26 ไมล์และ 385 หลา) โดยมักจะวิ่งแข่งกันบนถนน โดยการแข่งวิ่งนี้มีที่มาจากนายทหารชาวกรีกผู้ส่งข่าว ฟิดิปปิเดซ ที่ต้องวิ่งในการรบจากเมืองมาราธอนไปยังเอเธนส์ แต่ตำนานบอกเล่าก็ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่ ซึ่งขัดแย้งกับการบันทึกของเฮโรโดตุส เป็นส่วนใหญ่
การแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นหนึ่งในกีฬาการแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1896 ระยะทางการวิ่งยังไม่เป็นมาตรฐาน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1921
ในแต่ละปีมีนักวิ่งมาราธอนมากกว่า 500 คน ถือเป็นการแข่งขันในเวลาว่างของนักกีฬา มีการแข่งขันมาราธอนใหญ่ ๆ ที่จะมีผู้ร่วมเข้าแข่งขันถึงหมื่นคน





https://th.wikipedia.org/wiki/มาราธอน


Modernism & Postmodernism

Modernism

ความคิดสมัยใหม่ (Modernism)               เราต้องยอมรับว่า สังคมนี้เป็นสังคมสมัยใหม่ที่เจริญทางวัตถุ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันมีทั้งผลดีและเสีย สร้างทั้งความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมเสีย สังคมมนุษย์เจริญก้าวหน้ามากเท่าไร  มนุษย์ยิ่งจำเป็นต้องการรู้ตนเองและสังคมมากเท่านั้น นักคิดทางสังคมทั้งหลายจึงพยายามศึกษาเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ทั้งหลายในอดีตกับปัจจุบัน เพื่อความรู้เข้าใจความเป็นมนุษย์กับสังคม เห็นความแตกต่างของสิ่งทั้งหลายอย่างชัดเจนที่เป็นไปตามกาลเวลา ตามหลักสัจจธรรมที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอนิจจังไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในด้านความคิด ความเชื่อ ค่านิยม การปฏิบัติ วิทยาการ  สิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยีทั้งหลาย เกิดการยอมรับการวิวัฒนาการสังคมกันอย่างแพร่หลาย ยอมรับสิ่งใหม่มากกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่แทนของเดิม ทำให้ของเดิมที่มีอยู่แล้วกลับถูกมองเห็นว่าเก่าโบราณล้าหลังไม่ทันสมัยไม่ยอมรับกันอีกต่อไป อะไรคือความจริง อะไรคือใหม่ อะไรคือเก่า อะไรคือทันสมัย อะไรคือล้าหลัง

  

              ความคิดสมัยใหม่ (Modernism, Modernity or Modernization) ตาม Habermas (1987) และ Barry Smart กล่าวเอาไว้ว่า เริ่มมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 มาจากภาษาละตินว่า “modernus = modern” เป็นการพยายามทำให้เกิดความแตกต่างกันใหม่ในชาวคริสต์ จากการนับถือศรัทธาพระเจ้าไปสู่สิ่งอื่น แล้วต่อมาไม่นาน ก็มีการพยายามทำให้เกิดความแตกต่างกันใหม่อีกในชาวคริสต์ จากการนับถือศรัทธาพระเจ้าไปแสวงหาความรู้จริงสิ่งสากล พยายามรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายในสากลโลกตามความเป็นจริง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายด้วยจิตหรือปัญญา เพราะอิทธิพลแนวความความคิดของคานต์ (Kant’s conception of a universal history) เป็นกระบวนการความแตกต่างทางความคิดและวัฒนธรรมจากเก่าไปสู่ใหม่ (Turner, 1991: 3) เป็นการแสวงหาความรู้จริงของสิ่งต่างๆ ทั้งหลายตามการเปลี่ยนแปลงเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของโลกทางสังคม เพราะความเป็นมาของสังคมนี้เชื่อศรัทธาในพระเจ้าเป็นผู้สร้างกำหนดบันดาล ไม่เชื่อมนุษย์และธรรมชาติคือผู้สร้างกำหนดแสดง
              แนวคิดใหม่ทันสมัย นักปราชญ์หรือนักคิดทางสังคมบางคนกล่าวบอกว่า ควรนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) แต่นักสังคมวิทยาส่วนใหญ่เห็นว่า แนวคิดใหม่ทันสมัย (Modernism) เป็นยุคประวัติศาสตร์ของสังคมยุโรปตะวันตก ที่เกิดการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพราะในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นยุคที่สนใจศึกษาค้นคว้าปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบวิทยาศาสตร์ (Scientism) มาช่วยแก้ปัญหาสังคมทั้งหลายที่เกิดขึ้น แล้วส่งผลมีอิทธิพลต่อการศึกษาสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ของคองต์ในเวลาต่อมา (Comte’s positivism)
              ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงถือได้ว่าเป็นยุคความคิดใหม่ทันสมัย  (Modernism) อันหมายถึงยุคสมัยให้ความสนใจในเรื่องศิลปะ วรรณคดี วิทยาการ สถาบัน  เหตุผล  การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์  รูปแบบของชีวิต ความจริงของชีวิตบนฐานของความเจริญเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก กล่าวคือเป็นช่วงเวลาแห่งความเจริญทางวัตถุ ความมั่นคงทางสังคม และความรู้เข้าใจตนเอง (Material progress, social stability and self-realization) ในยุโรปตะวันตก มีอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส  อิตาลี เป็นต้น แม้มีปัจจัยต่างๆ มากมายที่ทำให้เกิดสมัยใหม่ ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ คือ ความจริง (Truth) เหตุผล (Rationality) วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) ผลของอุตสาหกรรม (Emergence of capitalism) การแผ่อำนาจทางตะวันตก (Western imperialism) การแพร่กระจายความรู้ และอำนาจทางการเมือง (Spread of literature and political power) การขับเคลื่อนทางสังคม (Social mobility)    เป็นสาเหตุสำคัญสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคมโลก ที่เรียกกันว่า “สมัยใหม่ความทันสมัย (Modernism)” เพราะผลของความเจริญทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการขับเคลื่อนทางสังคม ทำให้มนุษย์ต้องการรู้เข้าใจตนเองและสังคมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ทำให้ต้องมาคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อความถูกต้องดีงามแบบสากล แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโลกร่วมกัน เพื่อความรู้เข้าใจใหม่ร่วมกัน


Postmodernism

แนวคิดหลังยุคนวนิยม (Postmodernism) บางทีใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์ (Critical Theory/Critical Scholar)

ในเวลาต่อมาจึงเกิดความคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เสนอให้ปฏิเสธความแน่นอน หนึ่งเดียว นักคิดหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องสัจจะสมบูรณ์สูงสุดเป็นสากล โดยเห็นว่าเป็นเพียงการโอ้อวด แต่เสนอว่าไม่มีศูนย์กลางความเป็นหนึ่งเดียว และสังคมดำรงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลาย (diversity) ความคิดและแนวคิดใดๆทั้งหมดเป็นเรื่องที่ได้รับการแสดงออกในรูปภาษาโดยที่ภาษาหรือการใช้ภาษาสื่อความหมายนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจอันซับซ้อน ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีการเมืองจึงมิอาจอยู่เหนือ หรือตัดขาดจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ เช่นกันกับมิอาจให้ความรู้ความเข้าใจได้ด้วยการเป็นกลางไม่โอนเอียง ทฤษฎีการเมืองหรือสัจจะหรือความรู้ใดๆเป็นส่วนหนึ่งโดยนัยของความสัมพันธ์ทางอำนาจที่นักวิชาการกำลังวิเคราะห์อยู่ นักคิดหลังสมัยใหม่จึงมีลักษณะตั้งข้อกังขาอย่างไม่ลดละต่อสภาพความเป็นจริงใดๆที่ดูหนักแน่นสมบูรณ์ และความเชื่อต่างๆที่พากันยึดถืออย่างไม่ลืมหูลืมตา ในช่วงปลายสมัยใหม่ของภูมิปัญญาตะวันตก มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นเพื่อความทันสมัย บางครั้งก็เรียกรวมๆว่าความคิดแบบสมัยใหม่นิยม (modernism) กล่าวได้ว่าความคิดทันสมัยมีรากเหง้ามาจากทฤษฎีความคิดในยุคภูมิปัญญา (enlightenment) นักคิด นักปรัชญาการเมืองในยุคสมัยใหม่แข่งขันกันนำเสนอวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่ดี สังคมที่ดี ที่สำคัญคือ แนวคิดเสรีนิยม (liberalism) ที่เห็นว่าปัจเจกบุคคลต้องสละประโยชน์ส่วนตัว หาทางสร้างระบบการเมืองเสรีประชาธิปไตยขึ้นมารองรับ กับแนวคิดมาร์กซิสม์ ที่ต่างต้องการสร้างโลกใหม่ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การขูดรีดจากระบบทุนนิยม ความเชื่อในยุคสมัยใหม่กล่าวได้ว่ามีศรัทธาแรงกล้าต่อความก้าวหน้า (idea of progress) การที่สังคมมีหลักพื้นฐานอันประกอบด้วยสัจจะ ค่านิยมหลัก และความเชื่อมั่นเรื่องสังคมก้าวหน้ารวมเรียกกันว่าแนวคิดสถาปนานิยม (foundationism) ที่พยายามสถาปนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้เกิดขึ้นในสังคมผ่านการสร้างค่านิยม, ความเชื่อต่างๆขึ้นมาครอบครองความคิดมนุษย์ในสังคม

สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้กล่าวกันว่าได้ก้าวเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern era) คือความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นจริง (the real) กับสิ่งที่ปรากฏ (apparent) นั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นความคิดของฟรีดริช นิทซ์เชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) ซึ่งความคิดดังกล่าวเข้าไปมีอิทธิพลในวงการศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1920 กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) คือการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมที่ต่อต้านนิยาม, ความเชื่อ, ค่านิยม, จารีต, ประเพณีฯลฯ อาทิองค์รวม (totality), ความเป็นเหตุเป็นผล (rationality), ความเป็นสากล(universality), ความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) ฯลฯ ซึ่งนักคิดหลังสมัยใหม่จะตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่ต่างเป็นเพียง “เรื่องเล่าหลัก (meta-narrative)” ที่เกิดขึ้นมาจากข้ออ้างของความเป็นสมัยใหม่ (modernity) ของแนวคิดสมัยใหม่ (modernism) 

คำว่าหลังสมัยใหม่ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสฌัง-ฟรังซัวร์ ไลโอตารด์ (Jean-François Lyotard) ที่มาของคำว่าหลังสมัยใหม่ก็มาจากชื่อหนังสือของไลโอตารด์ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1979 คือ “สภาวะหลังสมัยใหม่ : รายงานว่าด้วยความรู้ (The Postmodern Condition : A Report on Knowledge)” ซึ่งไลโอตาร์ดกล่าวว่าในทางการ “หาความรู้” ในแนวทางแบบหลังสมัยใหม่นั้นหากจะบอกเวลาที่แน่ชัดที่สุดหรือในทศวรรษที่ 1950 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยุโรปเริ่มปรับเปลี่ยนและรื้อสร้าง (reconstruct) ทางความคิดในเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องมนุษย์, สังคม และวัฒนธรรม ไลโอตาร์ดเรียกร้องให้มนุษย์ปฏิเสธเรื่องเล่าหลัก หรือทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการหาความรู้พื้นฐานของปรัชญาซึ่งเริ่มต้นด้วยการขุดเซาะทฤษฎีทางปรัชญาต่างๆที่อ้างตนว่าสามารถอธิบายความจริงได้ ไลโอตาร์ดอธิบายถึงสิ่งเขาเรียกว่าหลังสมัยใหม่ไว้ว่า
ข้าพเจ้านิยามหลังสมัยใหม่ในฐานะความไม่เชื่อถือในเรื่องเล่าหลัก ความไม่เชื่อถือนี้มิได้เป็นผลจากพัฒนาการของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าเป็นสิ่งที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น ความล้าสมัยของการทำให้เรื่องเล่าหลักมีความชอบธรรม, เป็นที่ยอมรับ คือความล้มเหลวของหลักอภิปรัชญา และขนบของการศึกษาในมหาวิทยาลัย เรื่องเล่าอื่นๆได้สูญเสียหน้าที่ของมันไปหมด... ...อะไรคือหลังสมัยใหม่?... ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกสงสัยเลยว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะสมัยใหม่ หากสิ่งใดจะเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องเริ่มต้นจากการเป็นสิ่งหลังสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ไม่สามารถถูกเข้าใจว่าเป็นจุดจบของแนวคิดสมัยใหม่ แต่คือจุดเริ่มต้น และจุดที่ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ... หลังสมัยใหม่จะทำให้สิ่งที่ภาวะสมัยใหม่ไม่นำเสนอมีที่ทางที่จะเสนอตัวเอง  

อ้างอิง: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1

http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3226&Itemid=148

อิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกด้านต่างๆในไทยก่อนคริสต์ศตวรรษ




      ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่




                ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมตะวันตกซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประภาสยุโรป แล้วเริ่มมีการติดต่อกับต่างประเทศในแถบยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศส  ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) รูปทรงเป็นหลังคาปั้นหยา ด้านหน้าอาคารมีเสาในรูปแบบดอริก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมกรีก มีโครงสร้างแบบวงโค้งซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมโรมัน มีกำแพงเตี้ยปิดโดยรอบ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พนังก่ออิฐฉาบปูน และมีความหนาพิเศษ พื้นปูด้วยไม้สัก รูปแบบอาคารราชการขนาดกลางแบบสมมาตร และนำเอาแนวคิดในรูปแบบของนีโอคลาสสิกที่มีพื้นฐานมาจากกรีกและโรมันในเรื่องความเข้มแข็ง สง่างาม มาใช้กับตัวอาคารของศาลที่เต็มไปด้วยความเข้มแข็ง หนักแน่น ยุติธรรม สถาปนิกผู้สร้างเป็นชาวอิตาลี ที่มารับราชการในกรมโยธาธิการ บริเวณข้างเคียงมีบ้านพักจ่าศาล เป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง

ลัทธินีโอคลาสสิก (Neo-Classicism)
                ลัทธินีโอคลาสสิคมี แบบอย่างอันแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลความถูกต้องชัดเจนของสัดส่วนและความจริงตามหลักกายวิภาค ความสัมพันธ์ของเรื่องราวที่สมเหตุผล ความสัมพันธ์ของขนาดและลักษณะของการจัดภาพ ความคิดสร้างสรรค์ตามเรื่องราวที่มีเหตุผล และเสรีภาพในการทำงานของศิลปินอย่างมีทักษะ
                นักประวัติศาสตร์ได้จัดให้ลัทธินีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) เป็นช่วงของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) โดยเริ่มเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เกิดจากการต่อต้านทุกระบบที่เป็นการแบ่งชนชั้น การเปลี่ยนแปลงนี้ ได้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในยุโรป ยุคอำนาจและการรวมศูนย์ของกษัตริย์เริ่มเสื่อมคลาย ประชาชนเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อไม่ให้ผูกขาดกับผู้มีอำนาจอยู่เพียงผู้เดียว จนเกิดระบบเสรีนิยม ดังนั้นในช่วงนี้ ศิลปินมีแนวคิดอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ ไม่ยึดติดกับประเพณีเก่าๆ ศิลปินใดที่มีแนวคิดอุดมการณ์แบบเดียวกัน ก็เกิดการรวมกลุ่มตั้งเป็นลัทธิศิลปะ(ด้วยเหตุนี้ศิลปะในช่วงนี้ จึงลงท้ายชื่อด้วย “ism” ซึ่งหมายถึง กลุ่มลัทธิประกอบกับช่วงนี้มีการปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งด้านวัสดุ วิธีการ และรูปแบบ ดังนั้น หากเรายอมรับว่าช่วงนี้เป็นยุคแห่งการปฏิวัติ คงไม่มีคำใดเหมาะสมกว่าที่จะเรียกว่า “สมัยใหม่”
                นีโอคลาสสิก เกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี จากนั้นกระจายไปที่ต่างๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้เป็นผลพวงจากในช่วงขณะนั้นนักโบราณคดี ได้ขุดค้นเมืองกรีกโบราณ “เมืองปอมเปอี” ได้ค้นพบศิลปวัตถุล้ำค่า ทำให้มีการประชาสัมพันธ์การขุดค้นด้านโบราณคดีกันอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดความนิยมชมชอบโดยทั่วไป และหันมารื้อฟื้นในรูปแบบศิลปะของกรีกและโรมันขึ้นมาอีกครั้ง โดยนำแนวคิดรูปแบบศิลปะของกรีกและโรมันกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นคำว่า “นีโอคลาสสิก” จึงเป็นคำที่มีความหมายตรงตัว คือ “นีโอ(Neo)” หมายถึง ใหม่  “คลาสสิก(Classic)” หมายถึง กรีกและโรมัน ซึ่งรวมกันแล้วหมายถึง ความเคลื่อนไหวของศิลปะ ที่มีสุนทรียภาพตามแบบศิลปะกรีกและโรมัน
                การถือกำเนิดของศิลปนีโอคลาสสิก ยังเกิดขึ้นกับปัจจัยอื่นหลากหลายประการ เช่น คริสตจักรแห่งวาติกันได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเบื่อหน่ายต่อศิลปะ บารอคและรอคโกโก(Barouque and Rococo) ซึ่งมีรสนิยมอันหรูหรา ฟุ่มเฟือย หรือมุ่งเอาใจชนชั้นสูงมากเกินไป สิ่งเหล่านี้ศิลปินและปัญญาชนสมัยนั้นต่างถือว่า ไม่ใช่ความงามสมบูรณ์แบบ ตามคตินิยมของกรีกและโรมัน พวกเขายึดมั่นในอุดมคติของกรีกและโรมัน ดังนั้นรูปแบบความงาม และเนื้อหาต่างๆ จึงเต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ ความชัดเจน เหตุผล ความมีสัดส่วน และความเสมอภาค คล้ายศิลปะกรีกและโรมัน มีเพียงวัสดุและวิธีการก่อสร้าง ที่เปลี่ยนแปลงบ้างตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
                ด้านจิตรกรรม ส่วนใหญ่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยกรีกและโรมัน หรือเรื่องราวในชีวิตประจำวันทั่วไป ภาพคน จะเขียนอย่างถูกต้องตามหลักการในภาพ มีท่าทางสง่าผ่าเผย ใช้สีถูกต้องตามหลักการทฤษฎีหลักของแสงและเงา มีการไล่เฉดสีอ่อนแก่ เพื่อให้เกิดความกลมกลืน เป็นสัดส่วนและความเด่นชัด บางครั้งก็แสดงออกถึงแนวคิดใหม่ๆ จิตรกรที่สำคัญได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด(Jacques Louis David) ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ (Jean Auguste Dominique lngres)


ชาก ลุย ดาวิด(Jacques Louis David)
(อ้างอิงจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c6/David_Self_Portrait.jpg )



ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ (Jean Auguste Dominique lngres)
(อ้างอิงจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/94/Ingres,_Self-portrait.jpg )